วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 2

การประยุกต์ใช้วิธีระบบกับการดำเนินงานทางการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หลักและแนวคิดวิธีระบบ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ระบบ คืออะไร
ระบบ หมายถึงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ภายในระบบแต่ละระบบสามารถมองเป็น ระบบย่อย (Subsystem) ได้ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้ถือว่าเป็นระบบด้วยเช่นกัน เพราะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบที่สมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อระบบย่อยหลาย ๆ ระบบรวมกันจะทำให้เกิดระบบใหญ่ขึ้น
ถ้าพิจารณาองค์กร ในรูปแบบของระบบการเรียนของโรงเรียน ระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยระบบย่อยคือ ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายวิชาการ ฝ่าย ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในแต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบย่อยได้อีก


การทำงานของระบบ
- Input : ปัจจัยนำเข้า เป็นการป้อนวัตถุดิบหรือข้อมูลต่างๆ การตั้งปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินงานในระบบ
- Process : กระบวนการ เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ป้อนทนำเข้าเพื่อดำเนินการ
- Control : การควบคุม เป็นการควบคุมและตรวจสอบเพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์อย่างมีคุณภาพ
- Output: ผลผลิต /ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานในขั้นของกระบวนการสิ้นสุดลงรวมถึงการประเมินผล
- Feedbck: ข้อมูลป้อนกลับ เป็นการนำเอาผลลัพธ์ประเมินนั้นมาพิจารณา ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง

ลักษณะของระบบที่ดี
1. มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2. มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย
3. มีการรักษาสภาพแวดล้อม
4. การแก้ไขตนเอง

ประเภทของระบบ
ระบบเปิด
ระบบเปิด (open system) คือระบบที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งพยายามปรับตัวเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในให้อยู่รอดได้ โดยทั่วไปแล้วองค์กรต่าง ๆ ถือว่าเป็นระบบย่อยของระบบธุรกิจทั้งหมด การทำงานขององค์กรต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกตาม เช่นระบบ การลงทะเบียน มีความสัมพันธ์ระบบอื่น ๆ ที่อยู่ภายนอกของระบบ ตั้งแต่การรับใบลงทะเบียนจากนักศึกษา ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน การชำระเงินค่าลงทะเบียน การทำตารางเรียนตารางสอนระบบปิด
..........ระบบปิด (close system) คือระบบที่ไม่ต้องสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือระบบที่ทีการควบคุมการปฏิบัติต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์

องค์ประกอบของระบบ
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบมี 4 ส่วน ได้แก่
-ส่วนนำเข้า (input)
-ส่วนกระบวนการหรือ โพรเซส (processing)
-ส่วนผลลัพธ์ (output)
-ส่วนป้อนกลับ (feed-back)
ส่วนนำเข้า คือ ทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็น เพื่อนำเข้าสู่ระบบแล้วก่อให้เกิดกระบวนการขึ้น
ส่วนกระบวนการ คือ ส่วนที่ทำหน้าที่แปรสภาพ หรือประมวลผล โดยอาศัยส่วนนำเข้าของระบบไป แปรสภาพเป็นผลลัพธ์ที่ต้อง
ส่วนผลลัพธ์ คือ ส่วนที่ต้องการจากระบบ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบส่วนป้อนกลับ คือ ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนำเอาส่วนผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จากนั้นนำผลที่ได้จากการเปรียบเทียบไปปรับปรุงส่วนนำเข้าหรือกระบวนการการคิดอย่างมีระบบ

วิธีระบบ (System Approach)]
วิธีระบบ (System approach) ได้มีการกล่าวถึงอ้างอิงกันมาก จริงๆ แล้วเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดตามธรรมชาติจะถือว่าประกอบด้วยระบบอยู่ทั้งนั้น จักรวาลจัดเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก มนุษย์เป็นระบบย่อยลงมา ระบบแต่ละระบบมักจะประกอบด้วยระบบย่อย (subsystem ) และแต่ละระบบย่อยก็ยังอาจจะประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีก
วิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ( Allen, Joseph and Lientz, Bennet p. 1978)

วิธีระบบที่ดี
ต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่า ข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบใดมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ

การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
การวิเคราะห์ระบบเป็นการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ต่างๆ ขององค์ประกอบทั้งหลายภายในระบบ เพื่อตรวจสอบโครงสร้าง ขั้นตอนการดำเนินงานของระบบและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเป็นหลักการในทางปฏิบัติขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ มีดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา (Identify Problem) เป็นการรวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหาและต้องศึกษาโดยละเอียดว่าสิ่งใดคือปัญหาที่แท้จริง
ขั้นที่ 2 กำหนดขอบข่ายของปัญหา (Define Problem) เมื่อปัญหาที่รวบรวมมา มีมากมาย จึงต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าในการแก้ปัญหาครั้งนี้จะแก้ปัญหาใดบ้าง
ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหา (Analysis Problem) เป็นการพิจารณาถึงสภาพของปัญหา ข้อจำกัดและทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่เหมาะสมกับสถานการณ์และ สิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 กำหนดแนวทางแก้ปัญหา (Generate Alternative Solutions) เป็น การพิจารณาหาแนวทางแก้ปัญหาโดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งอาจมีหลายวิธี
ขั้นที่ 5 เลือกแนวทางแก้ปัญหา (Select Best Solution) เป็นการตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว ซึ่งคิดว่าเหมาะสมและทำให้บรรลุเป้าหมาย
ขั้นที่ 6 วางแผนเตรียมการแก้ปัญหา (Design Action Program) เป็นการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการตามแนวทางการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 7 นำไปทดลองกับกลุ่มย่อย (Implement Program) เป็นการนำวิธีการแก้ปัญหาไปทดลองใช้กับกลุ่มย่อย หรือสถานการณ์ตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อมูลนำไปใช้ ในการประเมินผล
ขั้นที่ 8ควบคุมตรวจสอบ (Monitor Program) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จาก การทดลองมาประเมินผลหาข้อบกพร่อง เพื่อการปรับปรุงและนำไปเป็นแนวทางการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง

การพัฒนาระบบ
1. การกำหนดภาพรวมสร้างภาพขึ้นในสมอง
2. รวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดจุดมุ่งหมาย
3. กำหนดคุณลักษณะ
4. ศึกษา กำหนดองค์ประกอบต่างๆ
5. กำหนดหน้าที่ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
6. กำหนดกลไกการทำงาน กลไกการควบคุม เพื่อให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย
7. ศึกษาสภาพแวดล้อม